< about democracy >
今天不免腦袋會轉到這個思考層次. 所以找一些名人語錄來刺激一下想法.
***
法國哲學家-德希達 Jacques Derrida : 民主, 是在認知我們無法生活於足夠民主社會的前提下, 所做的行為
“Être démocrate, ce serait agir en reconnaissant que nous ne vivons jamais dans une société assez démocratique.”
*
法國19世紀作家-托克維爾 De Alexis de Tocqueville : 在民主國家中, 每個世代都是新的民族.
“Dans les démocraties, chaque génération est un peuple nouveau.”
*
美國總統-林肯Abraham Lincoln : 民主, 是人民為了人民而組成的政府
“La démocratie, c’est le gouvernement du peuple, par le peuple, pour le peuple.”
*
王爾德 Oscar Wilde : 民主, 是人民為了人民而壓迫人民
“Démocratie : l’oppression du peuple par le peuple pour le peuple.”
*
法國總統-密特朗 François Mitterrand: 民主, 是也能說蠢話的制度法律
“La démocratie, c'est aussi le droit institutionnel de dire des bêtises.”
*
英國首相-邱吉爾 Winston Churchill : 民主是個糟糕的制度, 只不過他是所有制度當中比較不糟的.
“La démocratie est un mauvais système, mais elle est le moins mauvais de tous les systèmes.”
*
法國作家-卡謬 Albert Camus : 民主, 並不是多數者的法律, 而是保護少數.
“La démocratie, ce n'est pas la loi de la majorité, mais la protection de la minorité.”
*
印度聖雄-甘地 De Gandhi : 民主必須保障最弱者與最強者有相同的機會
“La démocratie devrait assurer au plus faible les mêmes opportunités qu'au plus fort.”
*
孟德斯鳩 De Montesquieu : 民主之愛就是平等之愛
“L'amour de la démocratie est celui de l'égalité.”
*
法國科幻小說家-柏納·韋柏 Bernard Werber: 民主是先進人們的奢華
" La démocratie est un luxe de peuple avancé. "
*
小王子作者-聖愛穌佩里 Antoine de Saint-Exupéry: 民主必須是博愛的, 否則, 只是個詐欺.
" Une démocratie doit être une fraternité ; sinon, c'est une imposture.
*
林肯: 如同我不願意成為奴隸, 我亦不願意成為主人. 這是我的民主信念.
“De même que je ne voudrais pas être un esclave, je ne voudrais pas être un maître. Telle est ma conception de la démocratie. ”
Abraham Lincoln
*
盧梭 Jean-Jacques Rousseau : 從來就不存在真正的民主, 而且將來也不會存在. 民主違反多數治理少數的自然定律
"Il n'a jamais existé de véritable démocratie, et il n'en existera jamais. Il est contre l'ordre naturel que le grand nombre gouverne et que le petit soit gouverné.
*
*
你覺得呢?
能夠自然無畏的發表自己的看法, 誰會想要獨裁與帝制呢?
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「rousseau democracy」的推薦目錄:
- 關於rousseau democracy 在 以身嗜法。法國迷航的瞬間 Facebook 的最讚貼文
- 關於rousseau democracy 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於rousseau democracy 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於rousseau democracy 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
- 關於rousseau democracy 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於rousseau democracy 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於rousseau democracy 在 18. Democracy and Participation: Rousseau's Discourse 的評價
rousseau democracy 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
"แนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตย"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง
ผมได้อ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 จะมีความสงสัยเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ระหว่างอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ตามมาตรา3 หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) มาตรา 44 ผมเลยนำข้อความส่วนหนึ่งของบทความที่ผมเขียนลงในวารสารสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มาลงเพื่ออธิบายแนวคิดอำนาจอธิปไตย ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของใคร กันแน่
แนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตยนั้นได้มีแนวทฤษฎีอำนาจอธิปไตยที่สำคัญ 5 ทฤษฎีด้วยกัน คือ ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า (Supremacy of God) ทฤษฎีอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปา (Supremacy of the Pope) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของกษัตริย์ (Supremacy of the King) อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Supremacy of the People) อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ (Supremacy of the Nation) แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันแนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของใครนั้นได้มีแนวคิดที่ยอมรับกันทั่วไป อยู่ 2 ทฤษฎี คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (เป็นของปวงชน) (Supremacy of the People) กับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ (Supremacy of theNation) ดังนี้
1.อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Supremacy of the People) นั้นได้มีนักปราชญ์ ชื่อ ฌอง ชาค รุสโซ (Jean Jaque Rousseau) ได้เขียนไว้ในหนังสือ ชื่อ “สัญญาประชาคม” (Social Contract) ดังนี้
1.1 หลักการและแนวคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
แนวคิดว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และแนวคิดเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคม โดยรุสโซ (Rousseau) กล่าวว่า “เราแต่ละคนมอบร่างกายและพลังทั้งหมดที่ตนมี เข้าอยู่ภายใต้คำบัญชาสูงสุดของเจตนารมณ์ส่วนรวม และในอำนาจร่วมกันของเรา เราขอรับสมาชิกแต่ละคนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งจะแบ่งแยกมิได้ของสังคม” และยังกล่าวต่อไปอีกว่า “สมมุติว่าสมาชิกภายในรัฐมีจำนวนประชากร 10,000 คนสมาชิกแต่ละคนของรัฐย่อมมีส่วน 1 ใน 10,000 ของอำนาจอธิปไตย เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยนี้ ต้องนับทุกส่วนรวมกันเข้ามาทั้งหมด” ดังนั้นรัฐจึงเป็นการรวมตัวกันของทุกๆคนในประชาคมนั้น เจตนารมณ์ร่วมกันของทุกคนก็คือ อำนาจอธิปไตยที่เป็นของทุกๆคน ตามทัศนะของ รุสโซ (Rousseau) อำนาจอธิปไตยไม่สามารถจะจำหน่ายจ่ายโอนไปให้ผู้ใดได้และไม่สามารถแบ่งแยกออกไปได้และจำกัดไม่ได้ เพราะอำนาจดังกล่าวเป็นของคนทุกคนในประชาคมนั้น ตรงจุดนี้นี่เองที่มองว่ารุสโซ (Rousseau) เป็นผู้ก่อให้เกิดแนวคิด “อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน” ที่เรียกว่า “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยทางตรง” (Direct Democracy) แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดของรุสโซ (Rousseau) ประเทศต่างๆได้นำแนวคิดมาปรับใช้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งทางตรงหรือที่เรียกว่า“ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม”
ในทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้น ปัจเจกชนแต่ละคนได้รวมตัวกันเป็นสังคมและถือว่าแต่ละคนนั้นต่างเป็นผู้ทรงสิทธิส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย การแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของส่วนรวมดังกล่าวอยู่ที่ปัจเจกชนแต่ละคนได้รับการปรึกษา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การตัดสินใจทุกๆเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยแล้วจะต้องมีการปรึกษาหารือและสอบถามพลเมืองของรัฐ
1.2 ผลของอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
จากแนวคิดข้างต้นในความเห็นของรุสโซ (Rousseau) ประชาชนเป็นผู้บัญญัติกฎหมายและรัฐสภาเป็นแค่เพียงเครื่องอุปกรณ์ของประชาชนเท่านั้น แนวความคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนได้รับการยอมรับและอยู่ในโครงสร้างกฎหมายของรัฐปัจเจกชนแต่ละคนเป็นเจ้าของสิทธิในการเลือกตั้ง และรวมถึงการกำหนดแนวทางของกิจกรรมสาธารณะอีกด้วย การออกเสียงทางการเมืองถือว่าเป็นสิทธิอันหนึ่งที่ใช้โดยพลเมืองแต่ละคนสำหรับการลงคะแนนในการตัดสินใจทุกๆเรื่องที่รู้จักกันดีภายใต้นิยามของคำว่า “กฎหมาย” (Law) แนวคิดนี้ก่อให้เกิดหลักการแบ่งแยกทางการเมืองในสังคมที่เห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ที่มีอำนาจอยู่เหนือเสียงส่วนน้อย และยิ่งไปกว่านั้นการจำกัดขอบเขตของการใช้สิทธิในการเลือกตั้งต่อการออกกฎหมายนั้นไม่ตอบสนองต่อความเป็นตรรกะของทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ความเป็นตรรกะดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าพลเมืองทุกๆคนและพลเมืองแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการของการตัดสินใจ ในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการใช้สิทธิ รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครองได้ ดังนั้นทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนย่อมรัฐมีผลตามมาดังนี้
1. ประชาชนแต่ละคนมีสิทธิที่จะเลือกผู้ปกครอง ทั้งนี้เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งส่วนแห่งอำนาจอธิปไตยของตนอันนำมาซึ่งหลักที่เราทราบกันดี คือ การเลือกตั้งอย่างทั่วถึงเพราะถือว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิของทุกคน มิใช่เป็นหน้าที่จึงไม่อาจจำกัดสิทธิได้
2. การมอบอำนาจของประชาชนให้ผู้แทนนั้นเป็นการมอบอำนาจในลักษณะเป็นผู้แทนของปวงชน ประชาชนสามารถควบคุมผู้แทนราษฎรได้เมื่อประชาชนไม่พอใจผู้แทนราษฎรก็ถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ (Recall) นอกจากนี้การที่ประชาชนมอบอำนาจให้อำนาจผู้แทน เป็นการมอบในลักษณะที่ผู้แทนต้องอยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนผู้เลือกตั้งผู้แทนแต่ละคน ไม่ถือว่าเป็นผู้แทนของราษฎรทั้งหมด แต่เป็นผู้แทนของราษฎรในเขตเลือกตั้งของตัวเอง ผู้แทนต้องอยู่ภายใต้คำสั่งและการควบคุมจากผู้เลือกตั้ง ทฤษฎีนี้จึงสนับสนุนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
3. ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นทฤษฎีที่สนับสนุนให้ประชาชนใช้อำนาจได้ตลอดเวลา
2.อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ (Supremacy of the Nation) ทฤษฎีนี้เป็นผลงานจากการสร้างสรรค์ของนักปรัชญาเมธีของประเทศฝรั่งเศสหลายท่านตั้งแต่ในยุคเรอแนสซอง (Renaissance) และมาปรากฏเด่นชัดในยุคปฏิวัติใหญ่ของประเทศฝรั่งเศสปี ค.ศ.1789 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการแยกให้เห็นถึงที่มาที่แตกต่างของรัฐ พวกอภิสิทธิ์ชนและอำนาจอธิปไตย กับ ฝ่ายปกครองบ้านเมืองและองค์กรของรัฐ
2.1 หลักการและแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
นักปรัชญาที่ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง คือ ซีเอเย่ส์ (Sieyes) ซึ่งได้กล่าวว่าอำนาจอธิปไตยแบ่งไม่ได้ (indivisible) ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชนแต่ละคนไม่ได้เป็นเจ้าของในหนึ่งส่วน ของอำนาจอธิปไตยแต่กลับมองว่าการรวมตัวของประชาชนทั้งหมดในนามของชาติ ดังนั้นเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยคือ "ชาติ " ในแนวความคิดของซีเอเย่ส์ (Sieyes) มองว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ” ไม่ได้เป็นของประชาชน ประชาชนแต่ละคนไม่มีสิทธิใดๆเลยที่เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ไม่มีสิทธิในการออกกฎหมาย ด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้เอง การลงประชามติ (Referendum) จึงไม่ได้รับการยอมรับในสายตาของซีเอเย่ส์(Sieyes) ยิ่งไปกว่านั้นกลับมองว่า ประชาชนแต่ละคนนั้นมีสิทธิแต่เพียงในการเลือกตั้งตัวแทนของตนเพื่อเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยในนามของชาติเท่านั้น
2.2 ผลของแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยของชาติ
เมื่อพิจารณาถึงแนวคิดทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติพบว่าแนวคิดดังกล่าวมีความขัดแย้งหรือคัดค้านกับแนวคิดทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ดังนี้
1.ชาติเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ไม่ใช่เป็นของปวงชนหรือประชาชนในฐานะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่เลือกผู้แทนของชาติ ดังนั้นการเลือกตั้งของประชาชนจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิใช่การใช้สิทธิ ชาติจึงมีสิทธิที่จะมอบอำนาจเลือกตั้งให้แก่ประชาชนที่เห็นว่าเหมาะสมได้ การเลือกตั้งจึงไม่จำเป็นต้องเป็นแบบที่ทั่วถึง มีการจำกัดสิทธิเลือกตั้งได้
2.ผู้แทนแต่ละคนไม่ได้เป็นผู้แทนของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งที่เลือกตนเท่านั้น แต่ผู้แทนทั้งหมดถือเป็นผู้แทนของชาติ และไม่อยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนผู้เลือกตั้ง
3.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติไม่ได้ปฏิเสธระบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อย่างไรก็ตามหากชาติมีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนการปกครองไปเป็นรูปแบบอื่นก็ได้
ดังนั้นผู้แทนที่ได้รับเลือกเข้าไปนั้นจึงเป็นผู้แทนของชาติเท่านั้นไม่ใช่ผู้แทนของประชาชนและผู้แทนดังกล่าวเป็นอิสระจากอำนาจของประชาชน และมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะกระทำการใดๆในนามของรัฐ ความอิสระดังกล่าวนี้ก็คือ อำนาจของผู้แทน ด้วยแนวความคิดดังกล่าวจึงก่อให้เกิดทฤษฎีของการเป็นผู้แทนเป็นของชาติ เป็นการสนับสนุนการปกครองประชาธิปไตยโดยทางอ้อม
3.ความแตกต่างระหว่างอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติผู้เขียนเห็นว่ามีความแตกต่างกันแต่สามารถที่ประสานหรือนำมาใช้ร่วมกันในการปกครองได้ดังนี้
3.1 เจตนารมณ์ของทฤษฎี
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชนเห็นว่าการเลือกตั้งต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไป เพราะว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิ (Right) ของประชาชนทุกคนโดยให้เหตุผลว่า ทุกๆคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การตัดสิทธิผู้หนึ่งผู้ใดไม่ให้ใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพราะเหตุเนื่องจากพื้นเพแหล่งกำเนิด ความยากดีมีจน หรือ การศึกษาอบรมนั้นทำไม่ได้ แต่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเห็นว่า การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ (Duty) ของประชาชนเจตนารมณ์ของชาติแสดงผ่านโดยทางผู้แทนรัฐสภาที่กระทำการในนามของชาติและชาติจะเป็นผู้กำหนดบุคคลที่มีหน้าที่ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเอง
3.2 แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมองว่าการเลือกตั้ง เป็น “สิทธิ” แต่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติมองว่าประชาชนไม่มีสิทธิออกเสียงในนามของชาติ ชาติมาจากการรวมตัวของประชาชน ชาติจะต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็น “หน้าที่” ของประชาชนทุกคนที่จะต้องกระทำเพื่อชาติๆจะเป็นผู้กำหนดคัดเลือกว่าประชาชนคนใดมีความสามารถเพียงพอที่จะมีหน้าที่ดังกล่าว สิทธิในการเลือกตั้งดังกล่าวตามแนวคิดนี้เรียกว่า “สิทธิในการลงคะแนนเสียงที่สงวนไว้สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ”
2.3 การเป็นผู้แทน
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเห็นว่าสมาชิกรัฐสภาจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของประชาชน เพราะเป็นผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกเข้ามาโดยประชาชน ในขณะที่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ กลับมองว่าสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชนนั้นเป็นอิสระจากประชาชนเพราะว่าสมาชิกเหล่านั้นได้ผันตัวเองมาเป็นผู้แทนของชาติ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าสมาชิกรัฐสภามีอิสระและมีอำนาจของตัวเอง
ตารางความแตกต่างระหว่างอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับเป็นชองชาติ
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาติ
1.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมองว่าการเลือกตั้ง เป็นสิทธิ
2.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชนเห็นว่าการเลือกตั้งทุกๆคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
3.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเห็นว่าสมาชิกรัฐสภาจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของประชาชน
1.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมองว่าการเลือกตั้ง เป็นหน้าที่
2.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ ถือว่าชาติจะเป็นผู้กำหนดบุคคลที่มีหน้าที่ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเอง
3.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเห็นว่าสมาชิกรัฐสภาไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของประชาชนแต่อยู่ภายใต้บังคับของชาติ
สรุปเมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างข้างต้นของแนวคิดฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติและอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ยังคงถกเถียงว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติหรือเป็นของประชาชนนั้น ว่าชาติหรือประชาชนจะเป็นผู้ทรงสิทธิในอำนาจอธิปไตยโดยแบ่งออกเป็นสองค่ายความคิดดังต่อไปนี้
1. ฝ่ายที่สนับสนุนว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติได้ให้เหตุผล สรุปได้ 3 ประการ คือ
ประการแรก เป็นจารีตประเพณีว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเพราะมีการกล่าวอ้างกันในรัฐธรรมนูญเป็นส่วนใหญ่ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นได้บัญญัติรับรองว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ อาทิ มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ ปีค.ศ.1791 มาตรา 17 และ18 ของคำประกาศรับรองสิทธิมนุษยชนและพลเมืองที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1795 มาตรา 2 เป็นต้น
ประการที่สอง ความเป็นชาตินั้นได้แสดงออกโดยความเป็นส่วนรวม ความสมัครสมานและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยแสดงออกผ่านทางการเลือกตั้ง
ประการสุดท้าย การยอมรับหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของชาตินั้นเป็นการยอมรับหลักความเป็นอิสระของผู้แทน กล่าวคือ เป็นผู้แทนของชาติและจะกระทำการใดนั้นต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
2. ฝ่ายที่สนับสนุนอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นได้ให้เหตุผลว่าหลักการดังกล่าวไปได้ด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบใหม่ โดยเห็นว่าชาตินั้นหาใช่อื่นใดไปไม่นอกจากประชาชนนั่นเอง ผู้แทนที่ได้รับเลือกเข้ามานั้นก็เป็นผู้แทนของประชาชนและจะต้องกระทำการตามคำสั่งของประชาชน
ดังนั้น ความแตกต่างทางประเพณีที่ขัดแย้งระหว่างสองแนวความคิด อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ ตามแนวคิดของซีเอเย่ส์ (Sieyes) และอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (เป็นของปวงชน) ตามแนวความคิดของรุสโซ (Rousseau) แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการประสานและรอมชอมของทั้งสองแนวความคิด แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างก็ยังมีอยู่บ้างในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิหรือมีหน้าที่เลือกตั้งทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชนเห็นว่าการเลือกตั้งต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไป เพราะว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน แต่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเห็นว่า การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน เจตนารมณ์ของชาติแสดงผ่านโดยทางผู้แทนรัฐสภาที่กระทำการในนามของชาติและชาติจะเป็นผู้กำหนดบุคคลที่มีหน้าที่ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเอง
สุดท้ายเมื่อเราอ่านแนวคิดเกี่ยวอำนาจอธิปไตย แล้วเราคิดว่าการอ้างอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 มาตรา 3 จริงหรือไม่ หรือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประธานคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 เป็นเรื่องน่าคิด นะครับ
rousseau democracy 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
แนวคิดและทฤษฎีในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยอำนาจอธิปไตย
แนวคิดและทฤษฎีในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยอำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตยนี้จะกล่าวถึง ความหมายและลักษณะอำนาจอธิปไตย แนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตยและ แนวคิดการแบ่งแยกและรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตย ว่าเป็นอย่างไรและของประเทศไทยใช้หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยรูปแบบใดในการปกครองประเทศ ดังนี้
1. ความหมายและลักษณะของอำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตยในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นมีความหมายอย่างไรและลักษณะของอำนาจอธิปไตยเป็นอย่างไรเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีในทางรัฐธรรมนูญว่าด้วยอำนาจอธิปไตย ดังนี้
1.1 ความหมายอำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) ในทางกฎหมายมหาชน หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐหรืออำนาจที่แสดงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่ อำนาจอธิปไตยย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นต้น
แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ในกฎหมายระหว่างประเทศ ระบุไว้ว่าอำนาจอธิปไตยประการนี้หมายความถึง การใช้อำนาจอธิปไตยทั้งทางนิตินัยและทางพฤตินัย “อำนาจอธิปไตยโดยนิตินัย” หมายความถึง มีอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ ส่วน “อำนาจอธิปไตยโดยพฤตินัย” หมายถึง เป็นอำนาจตามความสามารถในความจริงที่จะกระทำการเช่นนั้น อำนาจตามความที่กล่าวถึงข้างต้น หมายความไปถึงอำนาจในลักษณะการที่สามารถเข้าใจได้ง่ายว่าเป็นอำนาจสูงสุดทางการปกครองของประเทศหนึ่งประเทศใด หรือรัฐหนึ่งรัฐใด ในฐานะหนึ่งที่อำนาจอธิปไตย เป็นองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นและขาดเสียมิได้ของรัฐสมัยใหม่ (Modern State) หรือรัฐประชาชาติ (Nation-State) มิเช่นนั้น รัฐหรือรัฐประชาชาตินั้น ย่อมขาดความเป็นเอกราชในทางการเมืองการปกครอง
1.2 ลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตย
ลักษณะความสำคัญของอำนาจอธิปไตย มีนักวิชาการได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตยมีความเด็ดขาด อำนาจอธิปไตยเป็นการทั่วไป อำนาจอธิปไตยมีความถาวรและอำนาจอธิปไตยแบ่งมิได้ ดังนี้
1.2.1 อำนาจอธิปไตยมีความเด็ดขาด
อำนาจอธิปไตยมีความเด็ดขาด (Absoluteness) กล่าวคือ ไม่มีอำนาจอื่นใดภายในรัฐที่เหนือกว่า และจะไม่มีอำนาจอื่นที่มาจำกัดอำนาจในการออกกฎหมายของรัฐได้ กล่าวคือ มีอำนาจอธิปไตยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ เช่น ประเทศไทยมีอำนาจอธิปไตยเด็ดขาดไม่มีอำนาจรัฐอื่นใด (อำนาจของประเทศใด) มาจำกัดอำนาจในการตรารัฐธรรมนูญของประเทศไทยได้ เป็นต้น
1.2.2 อำนาจอธิปไตยเป็นการทั่วไป
อำนาจอธิปไตยเป็นการทั่วไป (Universality) อำนาจอธิปไตยของรัฐ มีอยู่เหนือทุกคนและทุกองค์กรที่อยู่ในรัฐ มีข้อยกเว้นเพียงแต่ว่า เมื่อมีผู้แทนของต่างรัฐมาประจำในประเทศ ผู้แทนต่างรัฐจะไม่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศหรือจารีตประเพณีระหว่างประเทศตามกฎหมายระหว่างประเทศ
1.2.3 อำนาจอธิปไตยมีความถาวร
อำนาจอธิปไตยมีความถาวร (Permanence) อำนาจอธิปไตยของรัฐยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงดำรงอยู่ ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามของรัฐอาจจะเปลี่ยนแปลงหรืออาจมีการปฏิรูปการปกครองเปลี่ยนระบบของรัฐบาลได้ แต่อำนาจอธิปไตยมิได้สูญหายไปจากรัฐ
1.2.4 อำนาจอธิปไตยแบ่งอำนาจมิได้
อำนาจอธิปไตยแบ่งอำนาจมิได้ (Indivisibility) หมายความว่า ในรัฐๆหนึ่งจะต้องมีอำนาจอธิปไตยที่เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น หากมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยก็ย่อมเป็นการทำลายอำนาจอธิปไตย แต่สามารถจำแนกการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นการแบ่งหน้าที่ให้องค์กรต่างๆเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยได้ตามแนวคิดการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย (Separation of Powers) ของ มองเตสกิเออ (Montesquieu) เช่น การแบ่งแยกอำนาจออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ เป็นต้น
2.แนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตย
แนวคิดการใช้อำนาจอธิปไตยนั้นได้มีแนวทฤษฎีอำนาจอธิปไตยที่สำคัญ 5 ทฤษฎีด้วยกัน คือ ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจสูงสุดของพระผู้เป็นเจ้า (Supremacy of God) ทฤษฎีอำนาจสูงสุดของพระสันตะปาปา (Supremacy of the Pope) ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของกษัตริย์ (Supremacy of the King) อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Supremacy of the People) อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ (Supremacy of the Nation) แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันแนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยอำนาจอธิปไตยเป็นของใครนั้นได้มีแนวคิดที่ยอมรับกันทั่วไป อยู่ 2 ทฤษฎี คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (เป็นของปวงชน) (Supremacy of the People) กับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ (Supremacy of the Nation) ดังนี้
2.1 อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (Supremacy of the People) นั้นได้มีนักปราชญ์ ชื่อ ฌอง ชาค รุสโซ (Jean Jaque Rousseau) ได้เขียนไว้ในหนังสือ ชื่อ “สัญญาประชาคม” (Social Contract) ดังนี้
2.1.1 หลักการและแนวคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
แนวคิดว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และแนวคิดเจตนารมณ์ร่วมกันของสังคม โดยรุสโซ (Rousseau) กล่าวว่า “เราแต่ละคนมอบร่างกายและพลังทั้งหมดที่ตนมี เข้าอยู่ภายใต้คำบัญชาสูงสุดของเจตนารมณ์ส่วนรวม และในอำนาจร่วมกันของเรา เราขอรับสมาชิกแต่ละคนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งจะแบ่งแยกมิได้ของสังคม” และยังกล่าวต่อไปอีกว่า “สมมุติว่ารัฐประกอบด้วยคน10,000คน สมาชิกแต่ละคนของรัฐย่อมมีส่วน 1 ใน 10,000 ของอำนาจอธิปไตย เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยนี้ ต้องนับทุกส่วนรวมกันเข้ามาทั้งหมด” ดังนั้นรัฐจึงเป็นการรวมตัวกันของทุกๆคนในประชาคมนั้น เจตนารมณ์ร่วมกันของทุกคนก็คือ อำนาจอธิปไตยที่เป็นของทุกๆคน ตามทัศนะของ รุสโซ (Rousseau) อำนาจอธิปไตยไม่สามารถจะจำหน่ายจ่ายโอนไปให้ผู้ใดได้และไม่สามารถแบ่งแยกออกไปได้และจำกัดไม่ได้ เพราะอำนาจดังกล่าวเป็นของคนทุกคนในประชาคมนั้น ตรงจุดนี้นี่เองที่มองว่ารุสโซ (Rousseau) เป็นผู้ก่อให้เกิดแนวคิดที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ที่เรียกว่า “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยทางตรง” (Direct Democracy) แต่อย่างไรก็ตามแนวคิดของรุสโซ (Rousseau) ประเทศต่างๆได้นำแนวคิดมาปรับใช้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยกึ่งทางตรงหรือที่เรียกว่า “ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม”
ในทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้น ปัจเจกชนแต่ละคนได้รวมตัวกันเป็นสังคมและถือว่าแต่ละคนนั้นต่างเป็นผู้ทรงสิทธิส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย การแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ของส่วนรวมดังกล่าวอยู่ที่ปัจเจกชนแต่ละคนได้รับการปรึกษา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การตัดสินใจทุกๆเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยแล้วจะต้องมีการปรึกษาหารือและสอบถามพลเมืองของรัฐมีผลตามมาดังนี้
1. ประชาชนแต่ละคนมีสิทธิที่จะเลือกผู้ปกครอง ทั้งนี้เพราะเป็นการแสดงออกซึ่งส่วนแห่งอำนาจอธิปไตยของตนอันนำมาซึ่งหลักที่เราทราบกันดี คือ การเลือกตั้งอย่างทั่วถึงเพราะถือว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิของทุกคน มิใช่เป็นหน้าที่จึงไม่อาจจำกัดสิทธิได้
2. การมอบอำนาจของประชาชนให้ผู้แทนนั้นเป็นการมอบอำนาจในลักษณะเป็นผู้แทนของปวงชน ประชาชนสามารถควบคุมผู้แทนราษฎรได้เมื่อประชาชนไม่พอใจผู้แทนราษฎรก็ถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ (Recall) นอกจากนี้การที่ประชาชนมอบอำนาจให้อำนาจผู้แทน เป็นการมอบในลักษณะที่ผู้แทนต้องอยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนผู้เลือกตั้งผู้แทนแต่ละคน ไม่ถือว่าเป็นผู้แทนของราษฎรทั้งหมด แต่เป็นผู้แทนของราษฎรในเขตเลือกตั้งของตัวเอง ผู้แทนต้องอยู่ภายใต้คำสั่งและการควบคุมจากผู้เลือกตั้ง ทฤษฎีนี้จึงสนับสนุนระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกึ่งทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
3. ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เป็นทฤษฎีที่สนับสนุนให้ประชาชนใช้อำนาจได้ตลอดเวลา
2.1.2 ผลของอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
จากแนวคิดข้างต้นในความเห็นของรุสโซ (Rousseau) ประชาชนเป็นผู้บัญญัติกฎหมายและรัฐสภาเป็นแค่เพียงเครื่องอุปกรณ์ของประชาชนเท่านั้น แนวความคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนได้รับการยอมรับและอยู่ในโครงสร้างกฎหมายของรัฐ ปัจเจกชนแต่ละคนเป็นเจ้าของสิทธิในการเลือกตั้ง และรวมถึงการกำหนดแนวทางของกิจกรรมสาธารณะอีกด้วย การออกเสียงทางการเมืองถือว่าเป็นสิทธิอันหนึ่งที่ใช้โดยพลเมืองแต่ละคนสำหรับการลงคะแนนในการตัดสินใจทุกๆเรื่องที่รู้จักกันดีภายใต้นิยามของคำว่า “กฎหมาย” (Law) แนวคิดนี้ก่อให้เกิดหลักการแบ่งแยกทางการเมืองในสังคมที่เห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ที่มีอำนาจอยู่เหนือเสียงส่วนน้อย และยิ่งไปกว่านั้นการจำกัดขอบเขตของการใช้สิทธิในการเลือกตั้งต่อการออกกฎหมายนั้นไม่ตอบสนองต่อความเป็นตรรกะของทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ความเป็นตรรกะดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าพลเมืองทุกๆคนและพลเมืองแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการของการตัดสินใจ ในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการใช้สิทธิ รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครองได้
2.2 อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ (Supremacy of the Nation) ทฤษฎีนี้เป็นผลงานจากการสร้างสรรค์ของนักปรัชญาเมธีของประเทศฝรั่งเศสหลายท่านตั้งแต่ในยุคเรอแนสซอง (Renaissance) และมาปรากฏเด่นชัดในยุคปฏิวัติใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1789 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการแยกให้เห็นถึงที่มาที่แตกต่างของรัฐ พวกอภิสิทธิ์ชนและอำนาจอธิปไตย กับ ฝ่ายปกครองบ้านเมืองและองค์กรของรัฐ
2.2.1 หลักการและแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
นักปรัชญาที่ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง คือ ซีเอเย่ส์ (Sieyes) ซึ่งได้กล่าวว่าอำนาจอธิปไตยแบ่งไม่ได้ (indivisible) ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชนแต่ละคนไม่ได้เป็นเจ้าของในหนึ่งส่วน ของอำนาจอธิปไตยแต่กลับมองว่าการรวมตัวของประชาชนทั้งหมดในนามของชาติ ดังนั้นเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยคือ "ชาติ " ในแนวความคิดของซีเอเย่ส์ (Sieyes) มองว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ” ไม่ได้เป็นของประชาชน ประชาชนแต่ละคนไม่มีสิทธิใดๆเลยที่เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ไม่มีสิทธิในการออกกฎหมาย ด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้เอง การลงประชามติ (Referendum) จึงไม่ได้รับการยอมรับในสายตาของซีเอเย่ส์ (Sieyes) ยิ่งไปกว่านั้นกลับมองว่า ประชาชนแต่ละคนนั้นมีสิทธิแต่เพียงในการเลือกตั้งตัวแทนของตนเพื่อเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยในนามของชาติเท่านั้น
2.2.2 ผลของแนวคิดเรื่องอำนาจอธิปไตยของชาติ
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาตินั้นคัดค้านกับแนวคิดทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ดังนี้
1.ชาติเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ไม่ใช่เป็นของปวงชนหรือประชาชนในฐานะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่เลือกผู้แทนของชาติ ดังนั้นการเลือกตั้งของประชาชนจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิใช่การใช้สิทธิ ชาติจึงมีสิทธิที่จะมอบอำนาจเลือกตั้งให้แก่ประชาชนที่เห็นว่าเหมาะสมได้ การเลือกตั้งจึงไม่จำเป็นต้องเป็นแบบที่ทั่วถึง มีการจำกัดสิทธิเลือกตั้งได้
2.ผู้แทนแต่ละคนไม่ได้เป็นผู้แทนของประชาชนในแต่ละเขตเลือกตั้งที่เลือกตนเท่านั้น แต่ผู้แทนทั้งหมดถือเป็นผู้แทนของชาติ และไม่อยู่ภายใต้อาณัติของประชาชนผู้เลือกตั้ง
3.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติไม่ได้ปฏิเสธระบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อย่างไรก็ตามหากชาติมีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนการปกครองไปเป็นรูปแบบอื่นก็ได้
ดังนั้นผู้แทนที่ได้รับเลือกเข้าไปนั้นจึงเป็นผู้แทนของชาติเท่านั้นไม่ใช่ผู้แทนของประชาชนและผู้แทนดังกล่าวเป็นอิสระจากอำนาจของประชาชน และมีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะกระทำการใดๆในนามของรัฐ ความอิสระดังกล่าวนี้ก็คือ อำนาจของผู้แทน ด้วยแนวความคิดดังกล่าวจึงก่อให้เกิดทฤษฎีของการเป็นผู้แทนเป็นของชาติ เป็นการสนับสนุนการปกครองประชาธิปไตยโดยทางอ้อม
2.3 ความแตกต่างระหว่างอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติผู้เขียนเห็นว่ามีความแตกต่างกันแต่สามารถที่ประสานหรือนำมาใช้ร่วมกันในการปกครองได้ดังนี้
2.3.1 แนวคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมองว่าการเลือกตั้ง เป็นสิทธิ แต่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติมองว่าประชาชนไม่มีสิทธิออกเสียงในนามของชาติ ชาติมาจากการรวมตัวของประชาชน ชาติจะต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่จะต้องกระทำเพื่อชาติๆจะเป็นผู้กำหนดคัดเลือกว่าประชาชนคนใดมีความสามารถเพียงพอที่จะมีหน้าที่ดังกล่าว สิทธิในการเลือกตั้งดังกล่าวตามแนวคิดนี้เรียกว่า “สิทธิในการลงคะแนนเสียงที่สงวนไว้สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะ”
2.3.2 เจตนารมณ์ของทฤษฎี
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชนเห็นว่าการเลือกตั้งต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไป เพราะว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิ (Right) ของประชาชนทุกคนโดยให้เหตุผลว่า ทุกๆคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การตัดสิทธิผู้หนึ่งผู้ใดไม่ให้ใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเพราะเหตุเนื่องจากพื้นเพแหล่งกำเนิด ความยากดีมีจน หรือ การศึกษาอบรมนั้นทำไม่ได้ แต่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเห็นว่า การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ (Duty) ของประชาชน เจตนารมณ์ของชาติแสดงผ่านโดยทางผู้แทนรัฐสภาที่กระทำการในนามของชาติและชาติจะเป็นผู้กำหนดบุคคลที่มีหน้าที่ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเอง
2.2.3 การเป็นผู้แทน
ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเห็นว่าสมาชิกรัฐสภาจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของประชาชน เพราะเป็นผู้แทนของประชาชนที่ได้รับการเลือกเข้ามาโดยประชาชน ในขณะที่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ กลับมองว่าสมาชิกรัฐสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชนนั้นเป็นอิสระจากประชาชนเพราะว่าสมาชิกเหล่านั้นได้ผันตัวเองมาเป็นผู้แทนของชาติ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าสมาชิกรัฐสภามีอิสระและมีอำนาจของตัวเอง
ตารางความแตกต่างระหว่างอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับเป็นชองชาติ
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาติ
1.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมองว่าการเลือกตั้ง เป็นสิทธิ
2.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชนเห็นว่าการเลือกตั้งทุกๆคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
3.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเห็นว่าสมาชิกรัฐสภาจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจบังคับของประชาชน
1.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมองว่าการเลือกตั้ง เป็นหน้าที่
2.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ ถือว่าชาติจะเป็นผู้กำหนดบุคคลที่มีหน้าที่ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเอง
3.ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเห็นว่าสมาชิกรัฐสภาไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของประชาชนแต่อยู่ภายใต้บังคับของชาติ
เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างข้างต้นของแนวคิดฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติและอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ยังคงถกเถียงว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติหรือเป็นของประชาชนนั้น ว่าชาติหรือประชาชนจะเป็นผู้ทรงสิทธิในอำนาจอธิปไตยโดยแบ่งออกเป็นสองค่ายความคิดดังต่อไปนี้
1. ฝ่ายที่สนับสนุนว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติได้ให้เหตุผล สรุปได้ 3 ประการ คือ
ประการแรก เป็นจารีตประเพณีว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเพราะมีการกล่าวอ้างกันในรัฐธรรมนูญเป็นส่วนใหญ่ เช่น รัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นได้บัญญัติรับรองว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ อาทิ มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ ปีค.ศ.1791 มาตรา 17 และ18 ของคำประกาศรับรองสิทธิมนุษยชนและพลเมืองที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1795 มาตรา 2 เป็นต้น
ประการที่สอง ความเป็นชาตินั้นได้แสดงออกโดยความเป็นส่วนรวม ความสมัครสมานและเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยแสดงออกผ่านทางการเลือกตั้ง
ประการสุดท้าย การยอมรับหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของชาตินั้นเป็นการยอมรับหลักความเป็นอิสระของผู้แทน กล่าวคือ เป็นผู้แทนของชาติและจะกระทำการใดนั้นต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
2. ฝ่ายที่สนับสนุนอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นได้ให้เหตุผลว่าหลักการดังกล่าวไปได้ด้วยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบใหม่ โดยเห็นว่าชาตินั้นหาใช่อื่นใดไปไม่นอกจากประชาชนนั่นเอง ผู้แทนที่ได้รับเลือกเข้ามานั้นก็เป็นผู้แทนของประชาชนและจะต้องกระทำการตามคำสั่งของประชาชน
ดังนั้น ความแตกต่างทางประเพณีที่ขัดแย้งระหว่างสองแนวความคิด อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ ตามแนวคิดของซีเอเย่ส์ (Sieyes) และอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน (เป็นของปวงชน) ตามแนวความคิดของรุสโซ (Rousseau) แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการประสานและรอมชอมของทั้งสองแนวความคิด แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างก็ยังมีอยู่บ้างในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิหรือมีหน้าที่เลือกตั้ง ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชนเห็นว่าการเลือกตั้งต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไป เพราะว่าการเลือกตั้งเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน แต่ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติเห็นว่า การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน เจตนารมณ์ของชาติแสดงผ่านโดยทางผู้แทนรัฐสภาที่กระทำการในนามของชาติและชาติจะเป็นผู้กำหนดบุคคลที่มีหน้าที่ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเอง
3. แนวคิดการแบ่งแยกและรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตย
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่สำคัญ คือต้องมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยและรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตย ดังนี้
3.1 แนวคิดการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย
แนวคิดการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยได้มีนักปรัชญาพูดถึงการแบ่งแยกอำนาจมานานแล้ว ไม่ ว่าจะเป็นอริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาการเมืองสมัยกรีกโบราณ และต่อมามีนักปรัชญาการเมืองอีกหลายท่าน เช่น เจมส์ แฮริงตัน (Jame Harington), จอห์น ลอค (John Locke), ฌอง โบแดง (Jean Bodin), แซมมวล ฟูเฟนดอร์ฟ (Samuel Purfendorf), ฮิวโก โกรเชียส (Hugo Grotius) เป็นต้น ต่างได้พูดถึงการแยกอำนาจไว้เช่นกัน แต่มีนักปรัชญาการเมืองที่สำคัญที่สุด คือ มองเตสกิเออ (Montesquieu) ซึ่งเป็นนักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้เดินทางไปศึกษาการเมืองไปทั่วยุโรป โดยใช้เวลาศึกษาการเมืองที่อังกฤษนานถึงปีครึ่ง เกิดแรงบันดาลใจให้เรียบเรียงวรรณกรรมสำคัญเล่มหนึ่ง คือ “เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” ในบทที่ 6 ของหมวด 11 ซึ่งมองเตสกิเออ (Montesquieu) ได้อธิบายว่าในทุกรัฐจะมีอำนาจอยู่ 3 อย่าง ดังนี้
1.อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจเกี่ยวกับการวางระเบียบบังคับทั่วไปในรัฐ กล่าวคือ "อำนาจในตรากฎหมาย"
2.อำนาจปฏิบัติการ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน คือ อำนาจในการใช้หรือบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "อำนาจบริหาร"
3.อำนาจปฏิบัติการต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายแพ่ง คือ อำนาจในการวินิจฉัยอรรถคดี ซึ่งเรียกกันต่อมาว่าเป็น "อำนาจตุลาการ"
งานวรรณกรรมของมองเตสกิเออ (Montesquieu) ข้างต้นนั้นเป็นงานเสนอหลักและวิธีการที่แยกอำนาจอธิปไตยเพื่อก่อให้เกิดและส่งเสริมอิสรภาพของประชาชน ไว้ ดังนี้
3.1.1 ต้องมีการแยกองค์กรที่ใช้อำนาจปกครอง
ต้องมีการแยกองค์กรที่ใช้อำนาจปกครองทั้งสาม คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ การแยกนี้หมายความว่าให้แต่ละองค์กรใช้อำนาจแต่เพียงอย่างเดียวหรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ คนหนึ่งหรือองค์กรหนึ่งใช้อำนาจได้เพียงอย่างเดียว ผู้ที่มีหน้าที่ออกกฎหมายก็จะต้องทำหน้าที่เฉพาะการออกกฎหมายเท่านั้น จะมาทำหน้าที่บริหารหรือตุลาการอีกไม่ได้ การให้แต่ละองค์กรใช้อำนาจเฉพาะเรียกว่า “การแบ่งแยกอำนาจ” (Separation of Powers) เหตุผลที่มองเตสกิเออ (Montesquieu) เสนอให้แยกองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยก็เพราะว่า
“เมื่อใดอำนาจนิติบัญญัติและบริหารรวมอยู่ที่คนๆเดียวกันหรือองค์กรเจ้าหน้าที่เดียวกันอิสรภาพย่อมไม่อาจมีได้ เพราะเกิดความหวาดกลัวเนื่องจากกษัตริย์หรือสภาเดียวกันอาจบัญญัติกฎหมายแบบทรราชย์ เช่นเดียวกันอิสรภาพจะไม่มีอยู่ ถ้าอำนาจตุลาการไม่แยกออกจากอำนาจนิติบัญญัติและบริหาร ถ้าหากรวมอยู่กับอำนาจนิติบัญญัติ ชีวิตอิสรภาพของคนในบังคับจะอยู่ภายใต้การควบคุมแบบพลการ เพราะตุลาการอาจประพฤติด้วยวิธีการรุนแรงและกดขี่ ทุกสิ่งทุกอย่างจะถึงซึ่งอวสานถ้าหากคนหรือองค์กรเดียวกันไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูงหรือประชาชนจะใช้อำนาจทั้งสามเหล่านี้ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารนโยบายสาธารณะและอำนาจพิจารณาคดีของบุคคล” ดังนั้นกล่าวโดยสรุปเพื่อให้เกิดอิสรภาพแก่ประชาชนจึงมีความจำเป็นตองให้มีการแยกองค์กรที่ใช้อำนาจทั้งสามออกจากกันเพื่อถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
3.1.2 ต้องมีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกันได้
การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกัน (Check and Balance) หมายถึง อำนาจที่จะแยกให้แต่ละองค์กรเป็นผู้ใช้อำนาจนั้น ไม่ใช่แยกจากกันโดยเด็ดขาดหรือมีอิสระไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน การสร้างระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลที่มองเตสกิเออกล่าวถึง เป็นระบบที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่ใช้อำนาจทั้งสาม
คำว่า “ดุลแห่งอำนาจ” (Balance of Power) หมายถึง การให้แต่ละอำนาจที่แยกให้แต่ละองค์กรใช้นั้นต่างก็มีฐานะเท่ากัน แต่ละอำนาจมีฐานะเท่ากันเช่นนี้ทำให้อำนาจต้านด้วยอำนาจซึ่งจะก่อให้เกิดดุลยภาพระหว่างอำนาจได้ สำหรับ “การตรวจสอบแห่งอำนาจ” (Check of Power) หมายถึงให้แต่ละอำนาจสามารถตรวจสอบการทำงานของกันและกันได้ เป็นต้นว่าถ้าฝ่ายบริหารไม่ดำเนินการหรือละเว้นหน้าที่จะดำเนินการตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมา ฝ่ายนิติบัญญัติย่อมสามารถตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารได้ นอกจากนี้ระบบการตรวจสอบที่ มองเตสกิเออ (Montesquieu) กล่าวถึง ยังครอบคลุมถึงการตรวจสอบภายในของหน่วยงานที่ใช้อำนาจเดียวกันด้วย เช่น การที่ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วยสองสภา ถ้าสภาหนึ่งออกกฎหมายที่เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนของฝ่ายหนึ่งสภาที่สองย่อมมีอำนาจตรวจสอบกลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านสภาหนึ่งมาแล้วได้
จากแนวคิดที่มองเตสกิเออ (Montesquieu) เสนอ คือ ต้องการให้มีระบบการแยกหรือจำแนกอำนาจให้องค์กรแต่ละองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) เมื่อแยกหรือจำแนกให้แต่ละองค์กรใช้เพียงอำนาจเดียว คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการแล้ว ก็ควรจะให้แต่ละอำนาจสามารถตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกันได้เช่นกัน
3.2 รูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตย
การให้องค์กรใช้อำนาจอธิปไตยโดยผ่านทางฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ ตามทฤษฎีการใช้อำนาจอธิปไตย มีรูปแบบของการใช้อำนาจอธิปไตย ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
3.2.1 กรณีองค์กรเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย
ในกรณีที่องค์กรเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจทั้งสามอำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทั้งสามอำนาจรวมอยู่ด้วยกัน โดยมิได้มีการแยกการใช้อำนาจ ผลที่ได้รับคือประชาชนซึ่งเป็นผู้ถูกปกครองไม่มีหลักประกันแน่นอนเพราะผู้ปกครองอาจกดขี่ข่มเหงเอาได้และจะไม่มีองค์กรอื่นหรือผู้อื่นมาคัดค้านได้ ซึ่งไม่แตกต่างไปจากการปกครองใน "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์" (Absolute Monarchy)
3.2.2 กรณีฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน
ในกรณีฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนก็คือประชาชน เพราะว่าฝ่ายบริหารซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำตามกฎหมายหรือปฏิบัติการตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ออกมาใช้บังคับก็จะมีอำนาจมากขึ้น กล่าวคือ ฝ่ายบริหารก็จะเสนอกฎหมายตามแต่ที่ตนต้องการตามความพอใจ เพราะเมื่อเสนอไปที่ฝ่ายนิติบัญญัติแล้วฝ่ายนิติบัญญัติก็จะต้องปฏิบัติตามที่ฝ่ายบริหารเสนอมาทุกครั้ง เพราะผู้ใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติ เป็นองค์กรเดียวกันเป็นที่แน่นอนว่ากฎหมายที่ออกมาลักษณะเช่นนี้เป็นกฎหมายตามความพอใจของฝ่ายบริหารจะกลายเป็น "เผด็จการทางรัฐสภา" ()
3.2.3 กรณีฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน
ในกรณีฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการใช้อำนาจโดยองค์กรเดียวกัน ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนย่อมต้องเป็นประชาชนอยู่นั่นเอง เพราะไม่ว่าฝ่ายบริหารจะกระทำการสิ่งใด ไม่ว่าจะถูกต้องหรือผิดไปจากตัวบทกฎหมายที่บัญญัติไว้ ฝ่ายตุลาการซึ่งมีหน้าที่ตัดสินคดีจะชี้ขาดว่าฝ่ายบริหารทำสิ่งที่ถูกต้องทุกครั้งไป ฝ่ายที่ชี้ขาดความยุติธรรมในรัฐก็จะไม่มีจะกลายเป็น “รัฐตำรวจ” (Police State) ทันที ซึ่งเห็นได้ว่าหากองค์กรเดียวเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการจะเกิดความไม่เป็นธรรมและเกิดผลเสียต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ ถึงแม้บุคคลใดๆหรือกลุ่มบุคคลใดๆ จะมีคุณสมบัติพิเศษหรือมีความสามารถเพียงใดก็ตาม การให้ใช้อำนาจอธิปไตยสองประการโดยองค์กรเดียวย่อมเกิดผลเสียต่อประชาชนได้ตลอดเวลา
3.2.4 กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยค่อนข้างจะเด็ดขาด
เมื่อกรณีทั้งสามดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ก็ได้มีความพยายามที่จะจัดให้มีการแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ออกจากกันเกือบเด็ดขาดหรือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเรียกว่า "การแบ่งแยกอำนาจค่อนข้างที่จะเด็ดขาด" รูปแบบการแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันค่อนข้างจะเด็ดขาดนี้มีใช้อยู่ก็คือการปกครองในระบบรัฐบาลแบบประธานาธิบดี เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
3.2.5 กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยไม่เด็ดขาด
กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยไม่เด็ดขาด เป็นการแบ่งแยกอำนาจที่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการมีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน เรียกว่า “การถ่วงดุลอำนาจ” (Check and Balance) กรณีแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยไม่เด็ดขาดนี้มีใช้อยู่ก็คือการปกครองในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศไทย เป็นต้น
4. อำนาจอธิปไตยและรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทย
หลักการใช้อำนาจอธิปไตย ในหัวข้อนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการนำแนวความคิดการใช้อำนาจอธิปไตยและการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดังนี้
4.1 การนำแนวคิดและหลักการใช้อำนาจอธิปไตย
ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 นำแนวคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติและอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนมาใช้ด้วยกัน ดังนี้
4.1.1 อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
การใช้อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เช่น บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิได้ ย่อมได้รับสิทธิหรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ มีหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ สาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
4.1.2 อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เช่น การให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงในการใช้อำนาจอธิปไตย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 50,000 ชื่อ เข้าชื่อเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 10,000 ชื่อ เข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย (ร่างพระราชบัญญัติ) การให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 20,000 ชื่อ เข้าชื่อยื่นถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การให้สิทธิประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงประชามติในเรื่องที่มีผลกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของชาติหรือประชาชน เป็นต้น
4.2 รูปแบบของการใช้อำนาจอธิปไตย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดรูปแบบการใช้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทย คือ ใช้หลักการแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยไม่เด็ดขาด ในระบบรัฐบาลแบบรัฐสภาเป็นการแบ่งแยกอำนาจที่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการมีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน เรียกว่า “การถ่วงดุลอำนาจ” (Check and Balance) เป็นการวางหลักการแบ่งแยกอำนาจไม่ค่อยเด็ดขาด กล่าวคือ แบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ต่างๆออกจากกันโดยไม่เด็ดขาดในลักษณะของการปกครองที่ใช้ระบบรัฐบาลแบบรัฐสภา เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารในการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนฝ่ายบริหารก็มีอำนาจควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติ (กรณีของสภาผู้แทนราษฎร) คือ การเสนอให้ประมุข ของรัฐยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น
rousseau democracy 在 18. Democracy and Participation: Rousseau's Discourse 的推薦與評價
Introduction to Political Philosophy (PLSC 114)This lecture is an introduction to the life and works of Rousseau, as well as the historical ... ... <看更多>